การนำเข้า-ส่งออกผัก ผลไม้ และอาหาร โดยส่วนใหญ่จะนิยมใส่ตู้คอนเทนเนอร์แบบตู้เย็นหรือ Reefer และขนส่งกันทางเรือ ซึ่งโดยส่วนใหญ่การขนส่งด้วยวิธีการนี้ไม่ค่อยพบปัญหาบ่อยนัก นอกเสียจากว่าของติดใบอนุญาตคือไม่มีใบรับรองจากหน่วยราชการก็จะไม่สามารถส่งออกหรือนำเข้าได้เลย ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการตั้งอุณหภูมิของตู้คอนเทนเนอร์ก็พบได้บ้างประปรายที่เมื่อเปิดตู้ออกมาแล้วปรากฏว่า จากส่งถั่วเขียวแต่กลับกลายเป็นถั่วงอกที่ปลายทางเพราะอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ในบทความนี้เราจึงนำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตู้ Reefer มาฝาก ว่ามีหลักการใช้งานและวิธีการปฏิบัติอย่างไร
ทำความรู้จักตู้ Reefer หรือตู้คอนเทนเนอร์แบบตั้งอุณหภูมิสำหรับขนส่งทางเรือ
สินค้าที่ขนส่งด้วยวิธีบรรจุใส่ตู้เย็น Reefer จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ สินค้าแช่เย็น และสินค้าแช่แข็ง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรทราบว่าหน้าที่ของตู้ Reefer คือการรักษาอุณหภูมิของสินค้า ไม่ใช่การลดอุณหภูมิของสินค้า โดยมีผู้ส่งออกหลายคนมักจะเข้าผิดคิดว่าสินค้าเมื่อนำเข้าบรรจุในตู้แล้วสินค้าจะแข็งเองภายในตู้ หรือเย็นเองภายในตู้ จึงไม่ได้ทำการจัดการหีบห่อให้เรียบร้อยเพราะกลัวว่าความเย็นจะไม่ทั่วถึง ทำให้เมื่อชิปปิ้งที่ทำหน้าที่รับเคลียร์ภาษีท่าเรือทุกท่าต้องประสบปัญหาการดำเนินเอกสารล่าช้าเพราะ Invoice Packing List ไม่ตรงกับสินค้าจริงภายในตู้ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจกับตู้ Reefer ดังต่อไปนี้
• จัดเตรียมสินค้าให้พร้อม ก่อนที่ตู้ Reefer จะมาถึงลานบรรจุสินค้า ผู้นำเข้าสินค้าและผู้ส่งออกสินค้าควรเตรียมสินค้าให้อยู่ในอุณหภูมิที่ต้องการให้เรียบร้อย เช่น หากต้องการส่งอาหารแช่แข็ง สินค้าก็ควรแช่แข็งเตรียมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นต้น เมื่อตู้มาถึงลานบรรจุจะทำให้สะดวกต่อการบรรจุสินค้าเข้าตู้ และไม่ทำให้ต้องเปิดตู้ทิ้งเอาไว้นาน
• การบรรจุสินค้า การโหลดหรือบรรจุสินค้าเข้าตู้ Reefer ผู้ประกอบการควรวางสินค้าให้ห่างจากผนังตู้อย่างน้อย 100 มิลลิเมตร เพื่อให้ความเย็นภายในตู้สามารถพัดได้ทั่วถึงทั้งตู้ โดยการบรรจุสินค้าชิดติดผนังตู้มากเกินไปอาจทำให้สินค้าเสียหายเนื่องจากความเย็นกระจายไม่ทั่วถึง และผนังตู้อาจจะมีความร้อนสะสมอยู่ทำให้สินค้าเสียหายได้
• ปิดสวิทช์ทำความเย็น ก่อนเปิดตู้ทุกครั้งควรปิดสวิทช์ทำความเย็นและทิ้งไว้ก่อนประมาณ 15 นาที จึงทำการเปิดตู้เพื่อทำการโหลดสินค้า ส่วนผู้นำเข้าสินค้าก็ต้องแบบนี้เช่นกันก่อนเปิดตู้เพื่อขนสินค้าออกจากตู้ โดยเหตุที่ต้องทำเช่นนี้เพื่อป้องไอน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของอากาศ และป้องกันสินค้าเกิดความเสียหายเนื่องจากภายในตู้จะมีสภาวะเป็นสุญญากาศ
• อย่าลืมตรวจสอบอุณหภูมิ ทุกครั้งที่ตู้ Reefer มาถึงลานบรรจุสินค้าหรือโกดังสินค้า ผู้ประกอบการจะต้องทำการตรวจสอบอุณหภูมิตู้ทุกครั้งว่ามีการตั้งอุณหภูมิตรงกับที่ผู้ประกอบการต้องการหรือไม่ โดยเฉพาะค่าบวกและลบของอุณหภูมิ และหน่วยวัดอุณหภูมิว่าเป็นองศาฟาเรนไฮต์หรือองศาเซลเซียส ถูกต้องตรงกันหรือเปล่า หากพบว่ามีปัญหาไม่ตรงตามข้อกำหนดให้รีบติดต่อชิปปิ้งที่รับเคลียร์ภาษีท่าเรือทุกท่าทันที เพื่อทำการตรวจสอบให้ละเอียดอีกครั้ง
• สินค้าที่เหมาะกับตู้ Reefer สินค้าที่เหมาะสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ทำความเย็นหรือตู้ Reefer คือ ผัก ผลไม้ อาหารทะเลแช่แข็ง เนื้อสัตว์แช่แข็ง สินค้าจำพวกยาและเวชภัณฑ์ ตลอดไปจนถึงเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง เป็นต้น
• ขนาดของตู้ Reefer ขนาดของตู้ Reefer ที่ให้บริการในปัจจุบันได้แก่ขนาด 10 ฟุต หรือความยาว 3 เมตร, ขนาด 20 ฟุต หรือความยาว 6 เมตร, ขนาด 40 ฟุต หรือความยาว 12 เมตร และขนาด 45 ฟุต หรือความยาว 45 เมตร
• เอกสารสำหรับใช้ดำเนินการใบขน เอกสารสำหรับดำเนินการใบขนของตู้ Reefer จะเหมือนกับการขนส่งทางตู้คอนเทนเนอร์ธรรมดาทุกประการ คือ เอกสารรับรองผู้ประกอบการส่งออกหรือนำเข้า, ใบรายละเอียดสินค้า, ใบรายละเอียดราคาสินค้า, ใบรายละเอียดบรรจุหีบห่อภายในตู้สินค้า และอย่าลืมเพื่อป้องกันของติดใบอนุญาต ควรมีใบอนุญาตรับรองจากหน่วยงานราชการด้วย หากสินค้ามีความพิเศษเฉพาะ
ผู้นำเข้าสินค้าและผู้ส่งออกสินค้าควรมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการใช้งานตู้คอนเทนเนอร์แบบทำความเย็น เพราะความเข้าใจที่ผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายกับสินค้าที่มีมูลค่าภายในตู้ได้ โดยผู้ส่งออกต้องทราบว่าสินค้าควรจัดเตรียมทำความเย็นเอาไว้ล่วงหน้าก่อนตู้จะมาถึง ส่วนผู้นำเข้าต้องทราบว่าก่อนการเปิดตู้ทุกครั้งควรจะปิดสวิทช์ทำความเย็นทิ้งเอาไว้ก่อนสัก 15 นาทีก่อนเปิดตู้สินค้า เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสินค้า และทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าควรตรวจอุณหภูมิของตู้อย่างละเอียดทุกครั้งก่อนทำการเปิดตู้