บทความ

การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขาย มีภาษีใดที่ต้องเสียบ้าง

ในปัจจุบันการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในไทยเพื่อทำการจัดจำหน่ายในการธุรกิจนั้นเป็นเรื่องที่สะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีบริษัทที่พร้อมให้บริการชิปปิ้งเคลียร์สินค้า ทำให้การดำเนินการในเรื่องกระบวนการทางศุลกากรสะดวกกว่าที่ผ่านมา เป็นการช่วยลดเวลาในกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดีแม้จะมีบริษัทที่ให้บริการชิปปิ้งเคลียร์สินค้าสุวรรณภูมิมาช่วยเป็นธุระในพิธีการขาเข้าให้เรา แต่เรื่องของการนำเข้าก็ต้องเกี่ยวพันกับเรื่องภาษีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากใครที่เพิ่งจะเริ่มต้นนำสินค้าจากต่างแดนเข้ามาทำธุรกิจในไทย อาจจะยังไม่รู้ว่าการนำเข้าสินค้าจะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กันได้เลย

ภาษีศุลกากรที่ต้องเรียกเก็บกับสินค้านำเข้า

ภาษีศุลกากรที่ต้องเรียกเก็บกับสินค้านำเข้า

เมื่อมีการนำเข้าสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าผ่านบริการชิปปิ้งเคลียร์สินค้าหรือนำเข้ามาด้วยตนเองก็ตาม ก็จะต้องมีการเสียภาษีที่เรียกว่า “ภาษีศุลกากร” อันประกอบไปด้วยภาษีหลัก 2 ชนิดคือ

1. ภาษีนำเข้าหรืออากรขาเข้า
ภาษีชนิดนี้จะเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้าสิ่งของหรือสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ และเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยภาษีชนิดนี้จะคิดจากราคา CIF x อัตราภาษีนำเข้าเป็น % (พิกัดภาษีศุลกากร) ซึ่งอัตราภาษีนำเข้านั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดสินค้า เช่น สินค้าอุปโภคอย่างเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รองเท้า หมวก กลุ่มนี้อาจจะคิดอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ 30% ส่วนสินค้าเครื่องประดับชิ้นเล็กอย่างแว่นตา นาฬิกา อาจจะคิดอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ 5% เป็นต้น

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีในส่วนนี้ก็คือ Vat 7% หลักการพิจารณาเรียกเก็บก็จะใช้หลักการเดียวกันกับอากรขาเข้า โดยภาษีชนิดนี้จะคิดจาก (ราคาCIF + ภาษีนำเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หลายคนอาจจะคิดว่าภาษีส่วนนี้มีความคล้ายกับข้อ 1 คืออากรขาเข้า แต่ในความเป็นจริงแล้วภาษีส่วนนี้แตกต่างจากอากรขาเข้าตรงที่ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นสามารถขอคืนภาษีได้ภายใน 6 เดือน แต่ส่วนอากรขาเข้านั้นไม่สามารถขอคืนได้นั่นเอง
อย่างไรก็ดีการนำเข้าสินค้าบางชนิดก็จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรทั้ง 2 ส่วนนี้ เช่น สินค้าทั่วไปที่มีมูลค่าน้อยกว่า 1,500 บาท สินค้าในกลุ่ม Duty Free ที่มูลค่ารวมแล้วไม่ถึง 20,000 บาท ของใช้ส่วนตัวที่มูลค่ารวมแล้วไม่ถึง 10,000 บาท เป็นต้น

ภาษีที่ต้องเรียกเก็บเพิ่มจากสินค้าบางชนิด

ภาษีที่ต้องเรียกเก็บเพิ่มจากสินค้าบางชนิด

การนำเข้าสินค้านอกจากจะต้องเสียภาษีดังกล่าวข้างต้นแล้ว สินค้าบางชนิดก็ยังต้องมีการเสียภาษีอื่นเพิ่มเติมด้วย อย่างเช่น สินค้าประเภทเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้ สุรา ยาสูบ เป็นต้น โดยภาษีที่ทางการจะต้องเรียกเก็บเพิ่มจะมี 2 ส่วนด้วยกันคือ

1. ภาษีสรรพสามิต
เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บเพิ่มจากสินค้าที่อยู่ในกลุ่มบริโภคแล้วก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ หรือส่งผลต่อศีลธรรมอันดี การคิดภาษีส่วนนี้ก็จะมีทั้งการคิดตามมูลค่าสินค้าและคิดตามน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับว่าสินค้าชนิดนั้นคืออะไร

2. ภาษีเพื่อมหาดไทย
เป็นภาษีที่พ่วงมากับภาษีสรรพสามิต คือ สินค้าใดที่นำเข้ามาแล้วมีการภาษีสรรพสามิตก็จะต้องเสียภาษีเพื่อมหาดไทยด้วย โดยภาษีส่วนนี้จะคิดจาก ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย (10%) นั่นเอง

ตอนนี้ทุกคนคงทราบกันแล้วว่า การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขาย เราจะต้องเผชิญกับภาษีส่วนใดบ้าง ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าสินค้าที่คุณนำเข้ามานั้นคืออะไร หากใครไม่แน่ใจว่าสินค้าที่กำลังจะนำเข้ามาจะต้องจ่ายภาษีส่วนไหนบ้าง ลองสอบถามจากผู้ให้บริการชิปปิ้งเคลียร์สินค้าดูก่อนคร่าว ๆ ก็ได้ จะได้คำนวณได้ล่วงหน้าว่าจะคุ้มค่ากับราคาที่ตั้งใจจะขายหรือเปล่า