บทความ

HS CODE เรื่องจำเป็นต้องรู้หากจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

ใครที่เคยมีประสบการณ์นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยผ่านบริการชิปปิ้งเคลียร์สินค้าก็คงจะพอทราบกันดีว่า สินค้าที่นำเข้านั้น ๆ จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า พิกัดศุลกากรหรือ HS CODE เนื่องจากว่าชนิดและประเภทของสินค้ามีความแตกต่างหลากหลาย สินค้าชนิดเดียวกันอาจมีวัตถุดิบการผลิตไม่เหมือนกันก็ได้ ซึ่งนั่นก็ทำให้ชื่อเรียกสินค้านั้นแตกต่างกันไปด้วย แหล่งต้นทางที่จะนำมาอาจเรียกสินค้าชนิดนี้ว่า “สินค้า A” แต่พอนำเข้ามาในไทย ศุลกากรไทยอาจเรียกชื่อเป็น “สินค้า A1” ก็ได้ ซึ่งตรงนี้อาจสร้างความสับสนจัดกลุ่มเพื่อตรวจปล่อยสินค้า ทางศุลกากรจึงได้กำหนดการเรียกชื่อสินค้าเพื่อใช้เป็นรหัสและให้เกิดความเป็นสากล จะได้เข้าใจตรงกันได้ทั่วโลก ซึ่งรหัสที่ว่านี้ก็คือ HS CODE นั่นเอง

ทำความรู้จักกับ HS CODE

HS CODE หรือ Harmonized System นั้น เป็นระบบรหัสพิกัดศุลกากร ที่ได้รับการยอมรับและมีการใช้งานในหน่วยงานศุลกากรทั่วโลก รหัสนี้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดยองค์การศุลกากรโลก (WCO) ที่มีสมาชิกกว่า 176 ประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเราก็เป็นหนึ่งในสมาชิกด้วยเช่นกัน โดย HS CODE ได้เริ่มใช้ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา และการที่ประเทศไทยเรามีระบบ HS CODE นี้ก็ช่วยให้กระบวนการทางการค้าระหว่างประเทศมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นทั้งฝ่ายศุลกากร ผู้ให้บริการชิปปิ้งเคลียร์สินค้า รวมไปถึงผู้ที่นำเข้าสินค้าด้วย

ไขรหัส HS CODE

ทุกคนคงทราบแล้วว่า HS CODE นั้นสำคัญอย่างไร และเชื่อว่าทุกคนก็คงต้องการทราบว่าตัวเลขที่เป็นรหัสของ HS CODE แต่ละเลขนั้นมีความหมายว่าอย่างไร เราลองมาไขรหัสเหล่านี้กัน

การจำแนกกลุ่มสินค้าตามพิกัดศุลกากร

เมื่อเรานำเข้าสินค้าใด ๆ มาทางสายการบินโดยมอบหมายให้บริษัทที่รับทำชิปปิ้งเคลียร์สินค้าสุวรรณภูมิดูแลจัดการ หลังจากสินค้ามาถึงสุวรรณภูมิ ด่านศุลกากรไทยก็จะใช้ HS CODE ในการระบุพิกัดสินค้าเพื่อแยกสินค้าเป็นเป็นหมวดหมู่ ซึ่งการแบ่งกลุ่มแยกหมวดหมู่สินค้าตามระบบ HS CODE ของศุลกากรไทยจะใช้เกณฑ์การแบ่งตามขั้นตอนการผลิต โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 21 หมวด 97 ตอน ( 5,386 ประเภท) ยกตัวอย่างเช่น สินค้าหมวดที่ 1 จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์มีชีวิต และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ หมวดนี้จะครอบคลุม ตอนที่ 1-5 สินค้าหมวดที่ 2 จะเป็นสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช อย่างกาแฟ ชา ธัญพืชก็จะอยู่ในหมวดนี้ ครอบคลุมตั้งแต่ตอนที่ 6-14 เป็นต้น

ถอดรหัส HS CODE

รหัส HS CODE นั้นส่วนใหญ่จะถูกระบุไว้เป็นเลข 8 หลัก โดยจะเขียนเป็นในลักษณะ 2907.20.00

  • เลข 4 ตัวแรก : เป็นตัวเลขที่บอกเลขลำดับของ “ตอน” และ “ประเภท” ที่แยกย่อยอยู่ในตอน
  • เลข 4 ตัวหลัง: จะเป็นเลขบอกประเภทย่อยของระบบพิกัดศุลกากร

นอกจากรหัส 8 หลักนี้แล้ว ก็จะมีตัวเลขต่อท้ายมาอีก 3 หลัก ซึ่งตัวเลขอีก 3 หลักนี้จะเป็น Statistics Code หรือรหัสสถิติที่ถูกกำหนดขึ้นโดยแต่ละประเทศนั่นเอง ซึ่งรวมแล้ว รหัส HS CODE แบบเต็มจะมีตัวเลขทั้งหมด 11 หลัก แต่เวลาที่เราจะตรวจสอบพิกัดศุลกากรผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เราจะใช้เลขเพียง 8 หลักเท่านั้น

จึงนับว่า HS CODE เป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศทุกคนควรจะต้องรู้ ส่วนถ้าเป็นผู้นำเข้ามือใหม่ยังไม่ค่อยรู้ระบบหรือไม่เข้าใจรายละเอียดในรหัสเหล่านี้ สามารถขอคำแนะนำและคำปรึกษาเพิ่มเติมจากบริษัทผู้ให้บริการชิปปิ้งเคลียร์สินค้าได้ ก็จะทำให้คุณได้รับความกระจ่างและความสะดวกในการตรวจสอบ HS CODE มากขึ้น