บทความ

ขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางอากาศ เรื่องง่าย ๆ ที่หลายคนคิดว่ายาก

อยากทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก แต่ติดปัญหาเรื่องการขนส่งทางอากาศหรือทางเครื่องบินว่าต้องมีค่าใช้จ่ายสูงแน่ ๆ แล้วไหนจะเรื่องภาษีอีก ใครจะรับเคลียร์ภาษีสนามบิน? แค่คิดก็ยากแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่าแท้ที่จริงการทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าทางอากาศไม่ใช่เรื่องยากเลย เหตุที่คิดว่ายากมาจากไม่คุ้นเคยมากกว่า หากต้องการทำธุรกิจนี้ต้องรู้จักขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออกก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่คุยกันได้สบาย ๆ ไม่ยากอย่างที่คิด ลองศึกษาขั้นตอนหลักในการนำเข้า-ส่งออกจากบทความนี้ แล้วคุณจะเข้าใจว่าทุกขั้นตอนไม่ยากอย่างที่คิดจริง ๆ

ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทางอากาศทำอย่างไร

การนำเข้า-ส่งออกสินค้าไม่ได้มีบริการเฉพาะทางอากาศอย่างเดียว แต่ยังมีทางทะเลและทางถนนให้เลือกด้วย โดยขั้นตอนการนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้าค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ดังนั้น เพียงเข้าใจหลักการก็สามารถจัดการกับสินค้าได้ทุกช่องทางการขนส่ง และที่สำคัญผู้ประกอบการควรมีบริษัทโลจิสติกส์ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพาร์ทเนอร์อยู่เคียงข้าง เพื่อช่วยให้การขนส่งสินค้ามีความราบรื่นขึ้น โดยเฉพาะทางอากาศที่มักจะพบกับปัญหาของโดนยึดสนามบินบ่อย ๆ โดยหลักการในนำเข้า-ส่งออกสินค้าทางอากาศมีดังต่อไปนี้

สินค้าแบบไหนควรส่งผ่านอะไร อันดับแรกผู้ประกอบจะต้องรู้จักสินค้าและคู่ค้าของตัวเองเป็นอย่างดี เช่น หากสินค้ามีอายุการใช้งาน ต้องรีบส่งแบบเร่งด่วน ควรใช้บริการส่งสินค้าทางเครื่องบิน แต่ถ้าสินค้ามีขนาดใหญ่ น้ำหนักเยอะ ไม่เร่งรีบในการส่ง ควรใช้บริการส่งสินค้าทางเรือ เป็นต้น ดังนั้น สินค้าทุกชนิดไม่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าหรือส่งออกสินค้าทางเครื่องบินอย่างเดียว ควรเลือกช่องทางการขนส่งให้เหมาะกับสินค้าของเราเป็นอันดับแรก

ใช้บริการบริษัทโลจิสติกส์ ควรเลือกบริษัทโลจิสติกส์ที่ให้บริการครบทุกด้าน ทั้งให้บริการขนส่งและรับทำพิธีการศุลกากร และควรมีทีมชิปปิ้งที่รับเคลียร์ภาษีสนามบิน พร้อมดำเนินการด้านเอกสารทุกอย่างได้ด้วย จากนั้นให้นัดชิปปิ้งหรือบริษัทโลจิสติกส์มารับสินค้า พร้อมกับเตรียมเอกสารสำหรับทำใบขน ได้แก่ รายละเอียดสินค้า, เอกสารราคาสินค้า (Commercial Invoice) และเอกสารบรรจุหีบห่อของสินค้า (Invoice Packing List) จากนั้นชิปปิ้งจะดำเนินการทำใบขน จัดส่งสินค้า และส่ง Air Waybill ให้กับคุณ

การคำนวนน้ำหนักสินค้า การส่งสินค้าทางอากาศจะคิดค่าใช้จ่ายตามน้ำหนักสินค้าเป็นต่อหน่วยกิโลกรัม โดยคุณสามารถคำนวนน้ำหนักทั้งการนำเข้าสินค้าหรือส่งออกสินค้าได้ด้วยการนำขนาดสินค้า คือ กว้าง x ยาว x สูง โดยใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร และหารด้วย 6,000 ซึ่งเป็นอัตราเปรียบเทียบที่สายการบินกำหนด หรือจะใช้วิธีง่าย ๆ ด้วยการเช็กน้ำหนักจริงจากสายการบินที่ใช้บริการ

สินค้าต้องกำจัด หลายคนอาจจะสงสัยว่าเหตุใดสินค้าของตัวเองจึงกลายเป็นของโดนยึดสนามบิน ซึ่งพบกรณีนี้ได้บ่อยมากกับผู้ประกอบการใหม่ โดยสินค้าต้องกำกัดเรียกให้ง่ายคือสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้า-ส่งออก เนื่องจากเป็นสินค้าที่กฎหมายควบคุม จึงจำเป็นต้องมีเอกสารอนุญาตจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดังนี้

โบราณวัตถุและพระพุทธรูป จะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมศิลปากร

ผัก ผลไม้ และส่วนต่าง ๆ ของพืช จะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร

ชิ้นส่วนยานพาหนะ จะต้องได้รับใบอนุญาตกระทรวงอุตสาหกรรม

ปืน กระสุนปืน วัตถุระเบิด จะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

สัตว์ทั้งมีชีวิตและเป็นซากสัตว์ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ ยกเว้นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ที่อยู่ในบัญชีควบคุมของอนุสัญญาไซเตส ห้ามทำการส่งออกโดยเด็ดขาด

อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง และยา จะต้องได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาสูบ จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต

วิทยุสื่อสาร เครื่องมือและอุปกรณ์โทรคมนาคม จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

หากคุณคิดว่าการนำเข้าสินค้าและการส่งออกสินค้าทางอากาศหรือทางเครื่องบินมีค่าใช้จ่ายสูง คุณสามารถติดต่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายของบริษัทโลจิสติกส์เพื่อให้ทำการ Work Rate กับเอเย่นต์ที่ต่างประเทศได้ โดยคุณอาจจะให้เหตุผลว่าสินค้าของคุณนั้นมีจำนวนเยอะและจะมีการซื้อขายกันอีกหลายครั้ง หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่คุณต้องการให้ลดราคา โดยเรื่องการขอ Work Rate นี้เป็นเรื่องปกติที่คุณสามารถบอกให้เจ้าหน้าที่ทำให้ได้ และจากนั้นคือการรอผลจากทางเอเย่นต์ว่าจะลดราคาให้หรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการอนุมัติทุกรายหากการขอลดราคานั้นอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลเพียงพอ